วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คำถามกฎหมาย

ให้นักเรียนค้นคว้าในเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบลงในบล็อกของนักเรียน1. กฎหมาย คืออะไร ?
ตอบ  ข้อบังคับของรัฐสาธิปัตย์ี่บัญญัติขั้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมืองหากใครฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง ?
ตอบ  กฏหมายต้องมี 5 ประการดังนี้
     1. กฏหมายต้องเป็นคำสั่งรือข้อยังคับ
     2. กฏหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคัที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์
     3. กฏหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
     4. กฏหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
     5. กฏหมายต้องมีสภาพบังคับ

3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ    
    1. กฏหมายสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยเเก่สังคมและประเทษชาติ
    2. การบริหารราชการแผ่นดินและการปกครองบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
    3. สังคมจะสงบสุขเมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฏหมาย
    4. กฏหมายสร้างวคามเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์
    5. กฏหมายเป็นกฏเกณฑ์ที่สำคัญเพื่อต่อให้เกิดความยุติธรรม

4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ  โดยใช้แหล่งกำเนิด แบ่งได้ 2 อย่าง
     1.กฎหมายภายใน
     2.กฎหมายภายนอก
1.กฎหมายภายใน แบ่งตามเนื้อหา แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
      -กฎหมายลายลักษณ์อักษร
      -กฎหมายไม่เป็ฯลายลักษณ์อักษร
แบ่งตามสภาพบังคับ แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
   -กฎหมายอาญา
   -กฎหมายแพ่ง
แบ่งตามลักษณะการใช้แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก
   -กฎหมายสารบัญญัติ
   -กฎหมายวิธีสบัญญัติ
แบ่งตามลักษณะของฐานะและความสัมพันธ์/ปปช. ได้ 2ประเภท คือ
   -กฎหมายมหาชน
   -กฎหมายเอกชน
2.กฎหมายภายนอก  แบ่งตามลักษณะของฐานะและความสัมพันธ์ เช่น
   1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
   2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
   3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา


5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบ  1. รัฐธรรมนูญ
          2. พระราชบัญญัติประมวลกฏหมาย พระราชกำนด พระบรมราชโองการ
          3. พระราชกฤษฏีกา
          4. กฏกระทรวงป็นลายลักษณ์อ
          5. เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติ อบจ,อบต,กทม,และเมืองพัทยา

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ  กฏหมายลายลักษณ์อักษรเกิดมาจากกฏมายโรมัน ถือเอาหลักเกณฑ์เป็นใหญ่ถือว่าตัวบถสำคัญที่สุด,คำพิพากษาเป็นการตีความ,พิจารณาหลักเกณฑ์ทั่วไปมาสู่เรื่องเฉพาะเรื่อง,ประเทศที่ใช้ เช่น ฝรั่งเศษ,อิตาลี,เยอรมนี,อิตาลี,ไทย,ญี่ปุ่น

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ  กฏหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร,จารีตประเพณี & คำพิพากษาศาล,ถือเอาคำพิพากษาเป็นใหญ่,ถือว่าศาลสำคัญที่สุด,เป็นการพิจารณาจากเรื่อวเฉพาะไปสู่หลักเกณฑ์ทั่วไป,พิจารณาในศาลยุติธรรมทั้งหมด,ความเห็นของนักนิติศาสตร์

8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ  มี 4ระบบ ได้แก่           1.ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค
                                       2.ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
                                       3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม
                                       4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม

9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ  ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค

10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
ตอบ       1. ต้องมีประชาชนร่วมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนเรียกว่าพลเมือง
               2. ต้องมีดินแดนเป็นของตน ซึ่งมีอาณาเขตที่แน่นอน
               3. ต้องมีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
               4. ต้องมีเอกราช ไม่ขึ้นแก่รัฐอื่นใด

คำถามกฏหมาย

รายงานชิ้นที่ 2

ให้นักเรียนค้นคว้าในเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบลงในบล็อกของนักเรียน
1. กฎหมาย คืออะไร ?
ตอบ  ข้อบังคับของรัฐสาธิปัตย์ี่บัญญัติขั้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมืองหากใครฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง ?
ตอบ  กฏหมายต้องมี 5 ประการดังนี้
     1. กฏหมายต้องเป็นคำสั่งรือข้อยังคับ
     2. กฏหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคัที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์
     3. กฏหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
     4. กฏหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
     5. กฏหมายต้องมีสภาพบังคับ

3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ    
    1. กฏหมายสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยเเก่สังคมและประเทษชาติ
    2. การบริหารราชการแผ่นดินและการปกครองบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
    3. สังคมจะสงบสุขเมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฏหมาย
    4. กฏหมายสร้างวคามเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์
    5. กฏหมายเป็นกฏเกณฑ์ที่สำคัญเพื่อต่อให้เกิดความยุติธรรม

4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ  โดยใช้แหล่งกำเนิด แบ่งได้ 2 อย่าง
     1.กฎหมายภายใน
     2.กฎหมายภายนอก
1.กฎหมายภายใน แบ่งตามเนื้อหา แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
      -กฎหมายลายลักษณ์อักษร
      -กฎหมายไม่เป็ฯลายลักษณ์อักษร
แบ่งตามสภาพบังคับ แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
   -กฎหมายอาญา
   -กฎหมายแพ่ง
แบ่งตามลักษณะการใช้แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก
   -กฎหมายสารบัญญัติ
   -กฎหมายวิธีสบัญญัติ
แบ่งตามลักษณะของฐานะและความสัมพันธ์/ปปช. ได้ 2ประเภท คือ
   -กฎหมายมหาชน
   -กฎหมายเอกชน
2.กฎหมายภายนอก  แบ่งตามลักษณะของฐานะและความสัมพันธ์ เช่น
   1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
   2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
   3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา


5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบ  1. รัฐธรรมนูญ
          2. พระราชบัญญัติประมวลกฏหมาย พระราชกำนด พระบรมราชโองการ
          3. พระราชกฤษฏีกา
          4. กฏกระทรวงป็นลายลักษณ์อ
          5. เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติ อบจ,อบต,กทม,และเมืองพัทยา

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ  กฏหมายลายลักษณ์อักษรเกิดมาจากกฏมายโรมัน ถือเอาหลักเกณฑ์เป็นใหญ่ถือว่าตัวบถสำคัญที่สุด,คำพิพากษาเป็นการตีความ,พิจารณาหลักเกณฑ์ทั่วไปมาสู่เรื่องเฉพาะเรื่อง,ประเทศที่ใช้ เช่น ฝรั่งเศษ,อิตาลี,เยอรมนี,อิตาลี,ไทย,ญี่ปุ่น

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ  กฏหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร,จารีตประเพณี & คำพิพากษาศาล,ถือเอาคำพิพากษาเป็นใหญ่,ถือว่าศาลสำคัญที่สุด,เป็นการพิจารณาจากเรื่อวเฉพาะไปสู่หลักเกณฑ์ทั่วไป,พิจารณาในศาลยุติธรรมทั้งหมด,ความเห็นของนักนิติศาสตร์

8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ  มี 4ระบบ ได้แก่           1.ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค
                                       2.ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
                                       3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม
                                       4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม

9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ  ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค

10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
ตอบ       1. ต้องมีประชาชนร่วมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนเรียกว่าพลเมือง
               2. ต้องมีดินแดนเป็นของตน ซึ่งมีอาณาเขตที่แน่นอน
               3. ต้องมีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
               4. ต้องมีเอกราช ไม่ขึ้นแก่รัฐอื่นใด
 

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผลการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา 2012


  1. โอบามา กล่าวสุนทรพจน์ ขอบคุณ หลังชนะเลือกตั้งปธน. สมัย2

ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริก นายบารัค โอบามา ได้กล่าวสุนทรพจน์ หลังทราบผลว่าได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างไม่เป็นทางการ โดยระบุว่า ขอบคุณชาวอเมริกันทุกคนที่ยังคงเชื่อมั่นในตัวเขา และลงคะแนนเสียงให้
ขณะเดียวกันก็ได้ขอบคุณทีมหาเสียงที่ทุ่มเททำงานอย่างหนักจนประสบความสำเร็จในวันนี้ โดยเฉพาะ มิชเชล โอบามา ภริยาและลูกสาวทั้ง 2 คน สำหรับกำลังใจที่มีให้ตลอดมา
ทั้งนี้ยอมรับว่า แม้เส้นทางอีก 4 ปีข้างหน้าจะเต็มไปด้วยอุปสรรค และมีภารกิจต่างๆที่ต้องแก้ไข แต่เขาในฐานะประธานาธิบดี ก็จะนำพาชาวอเมริกันทุกคนฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ไปให้ได้ด้วยกัน พร้อมกันนี้ก็ได้ว่าจะหาโอกาสพุดคุยกับนายรอมนีย์ ถึงแนวทางการแก้ปัญหาของประเทศด้วย
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2012 โอบาม่า – รอมนีย์
อัพเดตผลการเลือกตั้ง
13.41 น. โอบามา ขึ้นเวทีแถลงชัยชนะ
13.17 น.
 Huffingtonpost รายงานคะแนนเลือกตั้ง โอบามา 303 รอมนีย์ 203 คะแนน
13.00 น.
 นายมิตต์ รอมนีย์ แถลงยอมรับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ หลังพ่ายแพ้ต่อ นายบารัก โอบามา ที่ได้รับเลือกเป็นผู้นำประเทศสมัยที่ 2 ติดต่อกัน
11.51 น.
 Huffingtonpost รายงานคะแนนเลือกตั้ง โอบามา 290 รอมนีย์ 203 คะแนน
11.40 น.
 บารัค โอบามา ทวีตขอบคุณหลังทราบว่าได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งแล้ว 275 เสียง เกินจากที่ต้องได้อย่างน้อย 270 เสียงเพื่อชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ แม้ว่าผลการนับคะแนนในหลายรัฐยังไม่ออกมาก็ตาม
11.38 น.
 CNN และ Fox News ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
11.16 น.
 NBC ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
11.15 น. ผลเลือกตั้ง โอบามา 275 รอมนีย์ 203 คะแนน
11.00 น. ผลเลือกตั้ง โอบามา 244 รอมนีย์ 193 คะแนน
ชาวอเมริกัน ทยอยใช้สิทธิ์เลือกตั้งประธานาธิบดี
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ชาวอเมริกันออกต่างทยอยออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างคึกคัก ซึ่งโพลล์หลายสำนักต่างก็เผยผลการสำรวจว่า บารัค โอบามามีคะแนนนำ นายมิตต์ รอมนีย์อยู่เล็กน้อย
โดยโพลล์สำรวจความนิยมล่าสุดที่มีการเผยแพร่ออกมาในวันเลือกตั้ง พบว่า โพลส่วนใหญ่ ทั้ง พิว รีเสิร์ช , แกลลัพ โพล , เอบีซี นิวส์ , วอชิงตัน โพสต์  รวมถึง โพลล์ของซีเอ็นเอ็น พบว่า โอบามา ยังคงมีคะแนนนำรอมนีย์ อยู่ที่ร้อยละ 49 ต่อ 48%   ส่วน เอ็กซิท โพลล์ ปรับตัวเลขล่าสุด ต่างรายงานว่า โอบามา นำ รอมนีย์ อยู่เล็กน้อยที่ 50 ต่อ 47 แต่อย่างไรก็ตาม ต้องรอลุ้นผลการเลือกตั้งหลังลงคะแนนเสร็จสิ้น  ขณะที่สองผู้ชิงชัยตำแหน่งผู้นำสหรัฐก็เตรียมรอลุ้นผลการนับคะแนนกันแล้ว
ทั้งนี้ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้เดินทางกลับไปยัง ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นบ้านเกิด เพื่อเตรียมรอลุ้นผลการนับคะแนน หลังจากที่เขาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าไป ตั้งแต่ปลายเดือนที่ผ่านมา
ขณะที่นายมิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกัน ได้ควงคู่ แอนน์ ภรรยา ออกมาใช้สิทธิ์ที่หน่วยเลือกตั้งในมลรัฐแมสซาซูเซตส์แล้วในวันอังคาร ที่หน่วยเลือกตั้งบีช สตรีท  เมืองเบลมอนท์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์


ผลการสำรวจสดที่เป็นกลางของผู้ดำเนินการสำรวจ 4 รายที่ได้มีการเปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ยิ่งทำให้การแข่งขันดุเดือดร้อนแรง ผลสำรวจล่าสุดของ เอ็นบีซี/วอลล์ สตรีท เจอร์นัล ระบุว่า โอบามา มีคะแนนนำ รอมนีย์ ด้วยคะแนน 48% ต่อ 47% จากการสนับสนุนของผู้ที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง ขณะที่ผลสำรวจจาก วอชิงตัน โพสต์-เอบีซี นิวส์ แสดงให้เห็นว่าคะแนนของผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้ง 2 คน อยู่ที่ระดับ 48% ในสายตาของผู้ที่จะลงคะแนนเสียง
สอดคล้องกับผลสำรวจของทั้ง 2 แหล่ง ผลสำรวจการช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของมหาวิทยาลัย โพลิทิคอล/จอร์จ วอชิงตัน ยังทำให้การแข่งขันมีความร้อนแรงยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยผลสำรวจที่ระบุว่า โอบามา และ รอมนีย์ ได้รับคะแนนเสียง 48% เท่ากัน ซีเอ็นเอ็น/โออาร์ซี อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่าผู้สมัครทั้ง 2 คนมีคะแนนอยู่ที่ระดับ 49%
ผลสำรวจของพิว รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ ยังระบุว่า โอบามา มีคะแนน 50% และรอมนีย์ มีคะแนน 47% แต่ก็มีข้อผิดพลาดในการสุ่มตัวอย่างการสำรวจ
จอห์น ฟอร์เทียร์ ผู้อำนวยการโครงการประชาธิปไตยของศูนย์นโยบายพรรค กล่าวว่า “ผมคิดว่ามันเป็นการแข่งขันที่มีคะแนนใกล้กันอย่างไม่น่าเชื่อ เราเคยมีการเลือกตั้งที่ผู้ลงชิงตำแหน่งมีคะแนนใกล้เคียงกัน แต่บ่อยครั้งที่ใกล้เข้าสู่วันเลือกตั้ง เราจะรู้ดีว่าใครมีคะแนนนำ"
การชิงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งนี้นับเป็นประวัติการณ์ที่รอมนีย์มีคะแนนสูงกว่าโอบามา ในการอภิปรายของประธานาธิดีครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ต.ค. จอห์น ฟอร์เทียร์ ระบุว่า “อันที่จริงแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนกระทั่งการอภิปรายรอบแรก ซึ่งผู้คนสามารถจับตาดูเขากับประธานาธิบดี เขาสามารถทำให้ประชาชนประทับใจได้เป็นอย่างดี" ด้วยเหตุนี้ ผู้ชิงตำแหน่งจึงมีคะแนนใกล้เคียงกัน
เหตุผล
จอห์น ฟอร์เทียร์ กล่าวว่า “ทุกคนได้รู้จักประธานาธิบดีแล้ว แต่พวกเขาไม่รู้จัก มิตต์ รอมนีย์ และในการอภิปรายที่เขาทำได้ดีนั้น ทำให้เขาโดดเด่น และมีความสำคัญ ตั้งแต่นั้นมาพวกเขาก็มีคะแนนสูสีกันมาตลอด"
การช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ
เนื่องจากผู้ที่ได้คะแนนเสียงด้านความนิยมจำนวนมากนั้น ไม่จำเป็นต้องคว้าชัยตำแหน่งประธานาธิบดี จนกว่าเขา หรือเธอจะคว้าชัยด้วยคะแนนอิเล็คทอรัล คอลเลจ โวท ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้เกิดการโต้เถียงกันว่า การที่ผลสำรวจระดับชาติมีคะแนนใกล้เคียงกันนั้น ไม่ได้หมายความว่าโอบามา และรอมนีย์ จะอยู่ในการแข่งขันที่สูสี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโอบามามีคะแนนนำใน 5 รัฐ จาก 7 รัฐ
จากผลสำรวจของ ซีเอ็นเอ็น ซึ่งคำนวณผลสำรวจการแข่งขันชิงชัยตำแหน่งผู้นำประเทศอย่างน้อย 3 รายการ ระบุว่า โอบามามีคะแนนนำในรัฐโอไฮโอ, วิสคอนซิน, นิวแฮมพ์เชอร์, ไอโอวา, เนวาดา และโคโลราโด เขาเกือบจะมีคะแนนเทียบเท่ารอมนีย์ในรัฐเวอร์จิเนียร์ และมีคะแนนในรัฐฟลอริดาตามหลังรอมนีย์ ค่าเฉลี่ยผลสำรวจการเลือกตั้งของ RealClearPolitics.com ก็มีผลออกมาเช่นเดียวกัน
ผลสำรวจดังกล่าวถือเป็นลางที่ไม่ดีนักสำหรับรอมนีย์ ผู้นำพรรครีพับลิกันเล่นบทรุกใน 2 วันสุดท้ายของการรณรงค์หาเสียง ขณะที่เขาไม่เพียงเปิดการชุมนุมที่ฟลอริดา และเวอร์จิเนียร์ที่ซึ่งเขามีคะแนนนำ แต่ยังมีคะแนนนำในรัฐโอไฮโอ, ไอโอวา, นิว แฮมพ์เชอร์ และเพนซิลวาเนียเมื่อวันอาทิตย์ และวันจันทร์อีกด้วย
อีกด้านหนึ่ง โอบามา กำลังตั้งรับ และมุ่งเน้นไปที่การปรากฏตัวใน “ไฟร์วอลล์" ของมิดเวสท์ เขากำลังจัดแคมเปญหาเสียง 7 แคมเปญ จาก 9 แคมเปญที่นี่ ซึ่งแคมเปญ 3 แคมเปญจัดขึ้นที่โอไฮโอ และอีก 2 กิจกรรมในไอโอวา แคมเปญอีก 1 แคมเปญในวิสคอนซิน และอีก 1 แคมเปญหาเสียงในรัฐโคโลราโด
กลยุทธ์ที่แตกต่างของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธนาธิบดีอาจมีส่วนที่ทำให้โอบามามีคะแนนนำในสนามแข่งมิดเวสท์ จอห์น ฟอร์เทียร์ ระบุว่า ปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งนั้น อาจจะดึงคะแนนนำของโอบามาลง ซึ่งทำให้คะแนนในรัฐที่ระบุไปก่อนหน้านี้ กลับมามีบทบาท

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กรุงอยุธยา กรุงสุโขทัยและกรุงธนบุรี


การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์
รูปแบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปี    มิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัย
พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทย  ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
วัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหา   เมืองขึ้นของ
ชาติตะวันตกที่สำคัญ ชาติ คืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือ
พระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญในอนาคตอย่างถูกต้อง  จึงได้
ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์ จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่
ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็นสำคัญที่เป็น รากฐานในการปกครองปัจจุบัน
การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี
พ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญรุ่งเรืองนานัป
มาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทย ดังจะกล่าวถึงมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการ    การปกครองดังกล่าว
ต่อไป
    สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงอยู่
ในรูปแบบของเศรษฐกิจพอยังชีพ  กล่าวคือยังไม่มีการแบ่งงานกันทำแต่ละครอบครัวต้อง
ผลิตของที่จำเป็นทุกอย่างขึ้นมาใช้เอง   ที่ดินก็ยังว่างเปล่าอยู่มาก   ในขณะที่แรงงานเพื่อ
ประกอบการผลิตยังมีอยู่น้อย เพราะสภาพสังคมขณะนั้นแรงงานคนส่วนใหญ่ต้องอุทิศให้
กับ การเข้าเวรรับราชการและรับใช้มูลนายเวลาที่เหลือเพียงส่วนน้อยจึงเป็นเรื่องของการ
ทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัว ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจึงเป็นไปตามความต้องการของครัว
เรือนและอีกส่วนหนึ่งส่งเป็นส่วยให้กับทางราชการ การค้าภายในประเทศจึงมีน้อยเพราะ
ว่าทรัพยากรมีจำกัด   และความต้องการของแต่ละท้องถิ่นไม่แตกต่างกันการคมนาคมไม่
สะดวกจวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3  การค้าภายในประเทศจึงเริ่มขยายตัวเพราะชาวจีนเข้า
มามีบทบาททางการค้าโดยทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง  นำส่งสินค้าเข้า-ออก ตามท้อง
ถิ่นต่าง ๆ
ในส่วนที่เป็นรายรับ - รายจ่ายของแผ่นดินนั้น   กล่าวได้ว่ารายรับไม่สมดุลกับ
รายจ่าย  รายจ่ายส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นไปเพื่อการสร้างและบูรณะ
บ้านเมือง  รายจ่ายในการป้องกันประเทศการบำรุงศาสนานอกจากนี้ก็ยังมีรายจ่ายเบี้ย
หวัดข้าราชการและค่าใช้จ่ายภายในราชสำนักรายจ่ายตามประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
นับว่ามีจำนวนสูง    เพราะบ้านเมืองเพิ่งอยู่ในระยะก่อร่างสร้างตัวซ้ำยังมีศึกสงครามอยู่
เกือบตลอดเวลารายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเมื่อเทียบกับรายได้ของแผ่นดินซึ่งยังคงมีที่มา
เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องแสวงหายรายได้ให้
เพิ่มมากขึ้น
รายได้ของรัฐบาลในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จำแนกได้ดังนี้ 
1. ส่วย  คือ  เงินหรือสิ่งของที่ไพร่เอามาเสียภาษีแทนแรงงานถ้า ไม่ต้องการชำระ
เป็นเงิน  ก็อาจจะทดแทนด้วยผลิตผลที่มีอยู่ในท้องที่ ๆ  ไพร่ผู้นั้นอาศัยอยู่เช่นดีบุกดิน
ประสิว  นอกจากนี้ส่วยยังเรียกเก็บจากหัวเมืองต่าง ๆ และบรรดาประเทศราช
2. ฤชา  คือ  การเสียค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจ่ายเป็นค่าตอบแทนการบริการ
ของรัฐบาล  รัฐบาลจะกำหนดเรียกเก็บเป็นอย่าง ๆ ไป   เช่น   ค่าธรรมเนียมโรงศาล
ค่าธรรมเนียมการออกโฉนด หรือค่าธรรมเนียมกรรมสิทธิ์ เป็นต้น
3. อากร  คือ  เงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการขอผูกขาดสัมปทาน เช่น การจับ
ปลา การเก็บของป่าต้มกลั่นสุรา และตั้งบ่อนการพนัน เป็นต้น ส่วนอีกประเภทหนึ่ง  คือ
การเรียกเก็บผลประโยชน์ที่ราษฎรทำได้จากการประกอบการต่างๆเช่น ทำนาทำไร่ การ
เก็บอากร ค่านา ในสมัยรัชกาลที่ กำหนดให้ราษฎรเลือกส่งได้ รูปแบบ คือ  ส่งเป็น
ผลิตผลหรือตัวเงิน เช่น ถ้าส่งเป็นเงินให้ส่งไร่ละหนึ่งสลึง อากรประเภทอื่นยังมีอีก  เช่น
อากรสวน อากรตลาด เป็นต้น
4. ภาษีอากรและจังกอบภาษีอากรหมายถึงการเก็บภาษีจากสินค้าเข้าและสินค้า
ออก ภาษีเข้ามีอัตราการเก็บที่ไม่แน่นอนประเทศใดที่มีสัมพันธไมตรีดีต่อไทยก็จะเก็บ
ภาษีน้อยกว่าเรือของประเทศที่ไปมาค้าขายเป็นครั้งคราวหาก  แต่ในสมัยรัชกาลที่  2
อัตราที่กำหนดให้เก็บคือร้อยละ8โดยตลอดส่วนชาวจีนนั้นให้คิดอัตราร้อยละ  4 ส่วน
ภาษีสินค้าออกเก็บในอัตราที่แตกต่างไปตามชนิดของสินค้า
จังกอบ คือค่าผ่านด่านซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าและขนาดของพาหนะที่บรรทุก
ด่านที่เก็บจังกอบเรียกว่าขนอนหรือด่านภาษีการเก็บจังกอบมี ประเภทคือประเภท
แรกเป็นการเก็บค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ    เรียกเก็บจากสินค้าค้าของ
ราษฏรโดยชักสินค้านั้นเป็นส่วนลดอีกประเภทหนึ่งคือ  เก็บตามอัตราขนาดของยาน
พาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน โดยจะวัดตามความกว้างของปากเรือ เรียกว่า"ค่าปากเรือ"
ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้แม้เศรษฐกิจหลักของสังคมจะเป็นไปแบบเดิมคือ  การ
เกษตรกรรม โดยอาศัยธรรมชาติ   แต่ทางราชการก็พยายามสนับสนุนช่วยเหลือใน
การชลประทานการค้ากับต่างประเทศก็ดำเนินเป็นล่ำเป็นสันขึ้นกว่าในสมัยก่อน
เพราะไทยมีสินค้าออกคือ ผลิตผลทางการเกษตร     ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศ
ทางตะวันตก

« รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยา  »
            รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยานั้นแบ่งได้ ระยะตามลักษณะการปกครอง คือ การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  อยุธยาตอนกลาง  อยุธยาตอนปลาย
การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น   มีลักษณะดังนี้
การปกครองระยะนี้เริ่มเมื่อ (พ.ศ.1893-1991 )สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2  แบ่งการปกครองได้ 2 ส่วน
            ส่วนที่ 1)   การปกครองส่วนกลาง  การปกครองในเขตราชธานี   และบริเวณโดยรอบราชธานีโดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้แก่  กรมเวียง (ดูแลในเขตเมืองหลวง) กรมวัง(ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี)  กรมคลัง(ดูแลพระราชทรัพย์) กรมนา  (จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ)
    ส่วนที่ 2)   การปกครองส่วนหัวเมือง   แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
        1. เมืองลูกหลวง   หรือเมืองหน้าด่าน       ตั้งอยู่รอบราชธานี 4  ทิศ เช่น ลพบุรี  นครนายก พระประแดง  สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง
        2. หัวเมืองชั้นใน  อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ได้แก่ พรหมบุรี  สิงห์บุรี ปราจีนบุรี  ฉะเชิงเทรา ชลบุรี  ตะนาวศรี  ไชยา นครศรีธรรมราช ให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง
         3.หัวเมืองชั้นนอก   หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวแทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง
         4. เมืองประเทศราช   เป็นเมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุด   มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงคราม เช่นสุโขทัย เขมร เป็นต้น 
การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง  ( 1991-2231) มีลักษณะดังนี้
                 ช่วงเวลาทางการเมืองสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้ 2 ช่วง
        ช่วงที่ 1  เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง    และเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดการแยก ทหารและ   พลเรือนออกจากกัน และจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น  มีการปฏิรูปการปกครองแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนกลางและหัวเมือง
        สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแยกการปกครองส่วนกลางเป็น  2  ฝ่าย คือ ทหารและพลเรือน    ทหาร มี สมุหกลาโหมดูแล  ส่วนพลเรือนมี  สมุหนายก  ดูแล 
          สมุหนายก มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหนายก ดูแล ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราช
          สมุหกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง
สมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหาร ทั้งในราชานีและหัวเมือง    และยังได้ปรับปรุงจตุสดมภ์ภายใต้การดูแลของ  สมุหนายก  อัครมหาเสนาบดีผู้ดูแลปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ออกญาโกษาธิบดี
การปฏิรูปส่วนหัวเมือง  แยกเป็น 3 ส่วน
        หัวเมืองชั้นใน   ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน  ทรงขุนนางไปครองเรียก  ผู้รั้ง 
        หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า  เมืองพระยามหานคร  จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท และตรี 
        เมืองประเทศราช  คือเมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศรี ทะวาย เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม
     ช่วงที่ 2  ตรงกับสมัยพระเพทราชา  ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม  และสมุหนายก ดูแลทั้งทหารและพลเรือน  โดยแบ่ง หัวเมืองใต้ ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้และพลเรือน  ส่วนพลเรือนและทหารฝ่ายเหนือให้  สมุหกลาโหมดูแล
การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย ( ในช่วง 2231-2310)  มีลักษณะดังนี้
            พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้พระโกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูแลทหารและพลเรือนทางใต้ แทนสมุหกลา-โหม     ส่วนสมุหนายก  ยังคงเหมือนเดิม  การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจ ระหว่างเจ้านาย และ ขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง
             เข้าใจชัดแล้วใช่ไหมว่า ทำไมอยุธยาต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองค่อนข้างบ่อยเหตุผลก็เพื่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นหลักในการปกครองนั่นเอง
            สรุป การปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวมอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลาง และควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครอง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกครอง ดังนั้น สมัยอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการแย่งชิงอำนายทางการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์  เจ้านาย และขุนนาง  ตลอดจนสิ้นอยุธยา

การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
 อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง      มีจำนวนพลเมืองยังไม่มากและอยู่ในระหว่างการก่อร่าง
สร้างตัว  การปกครองในระยะแรกจึงยังเป็นการปกครองระบบแบบครอบครัว   ผู้นำของอาณาจักรทำตัวเหมือนบิดาของประชาชน  มีฐานะเป็นพ่อขุน  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน         ต่อมาหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงสถานการณ์ของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป  จึงเริ่มใช้การปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนแตกต่างไปจากเดิม      ความพยายามที่จะเพิ่มพูนอำนาจของกษัตริย์ให้สูงทรงมีฐานะเป็นธรรมราชา และทรงใช้หลักธรรมมาเป็นแนวทางในการปกครอง
                            ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย
การปกครองในสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1.      สมัยสุโขทัยตอนต้น   เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไปถึงสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
2.      สมัยสุโขทัยตอนปลายตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัยสุโขทัยหมดอำนาจ
                             การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น ( พ.ศ. 1792  -1841 )
      หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาแล้วได้พยายามขจัดอิทธิพลของขอมให้หมดไปจึงได้จัดระบบการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบไทย ๆที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ พระมหากษัตริย์ได้ปกครองประชาชนในฐานะบิดาปกครองบุตร หรือที่เรียกว่าการปกครองแบบปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ
1.      รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
2.      พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร  ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว  พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน
3.      ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ทำตัวเปรียบเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว   ยังมีการจัดระบบการปกครอง  ดังนี้
-              ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็น  บ้าน  อยู่ในความดูแลของ พ่อบ้าน ผู้อยู่ภายใต้การปกครองเรียกว่า   ลูกบ้าน
-              หลายบ้านรวมกัน   เป็น    เมือง  ผู้ปกครองเรียกว่า    ขุน
-              เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น    อาณาจักร    อยู่ในการปกครองของ    พ่อขุน 
แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน
 ทำหน้าที่เป็นกลไกในการปกครองด้วย
4.      พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหารบ้านเมือง และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม
 เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
 นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยตอนต้นยังมีการปกครองแบบทหารแอบแฝงอยู่ด้วยเนื่องจากในระยะแรกตั้งสุโขทัยมี
อาณาเขตแคบ ๆ ประชาชนยังมีน้อยดังนั้นทุดคนจึงต้องมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าๆกันจึงกำหนดว่า
วลาบ้านเมืองปกติประชาชนต่างทำมาหากินแต่เวลาเกิดศึกสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ
                        การปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลาย       (พ.ศ. 1841-1981  )
     หลังจากที่พ่อชันรามคำแหงสวรรคตในพ.ศ. 1841แล้วอาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสายพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาเริ่มอ่อนแอ  ไม่สามารถรักษาความมั่นคลของอาณาจักรไว้ได้   เมืองหลายเมืองแยกตัวออกไปเป็นอิสระ
 สภาพการเมืองภายในเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ  รูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมสลายลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ      จนกระทั่งสมัยพระยาลิไทย ซึ่งขณะนั้นปกครองอยู่ที่เมือง
ศรีสัชนาลัยได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยและปราบศัตรูจนราบคาบบ้านเมืองจึงสงบลง
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย ) ขึ้นครองราชย์สมบัติในปี 1890    ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคงภายใน  ประกอบกับเวลานั้นกรุงศรีอยุธยาที่ตั้งขึ้นมาใหม่กำลังแผ่ขยายอำนาจจนน่ากลัวจะเกิดอันตรายกับสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย )  ทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะอำนาจทางการทหารในสมัยของพระองค์นั้นไม่เข้มแข็งพอ  จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่าง และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไปเพื่อเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนให้เกิดเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต     สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันในแผ่นดิน
       การปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่าการปกครองแบบธรรมราชา  พระมหากษัตริย์จะทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม      การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย
                                 การปกครองแบบกระจายอำนาจ
    เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการปกครองแบบกระจายอำนาจโดยแบ่งหัวเมืองออกเป็น ชั้น ๆเพื่อกระจายอำนาจในการปกครองออกไปให้ทั่วถึง
     เมืองต่าง ๆในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น  แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในการปกครองดังนี้
   1. เมืองหลวง หรือเมืองราชธานี    อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือเมืองราชธานีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเอง   เมืองราชธานี เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาวัฒนธรรมประเพณ๊
 2   เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวเมืองชั้นใน  ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า  2 วัน  เมืองลูกหลวงมีดังนี้
                      ทิศเหนือ                 ได้แก่        เมืองศรีสัชนาลัย
                      ทิศตะวันออก         ได้แก่        เมืองสองแคว  ( พิษณุโลก )
               ทิศใต้                       ได้แก่        เมืองสระหลวง    ( เมืองพิจิตรเก่า  )
               ทิศตะวันตก              ได้แก่       เมืองนครชุม     ( กำแพงเพชร )   
 เมืองลูกหลวงมีความสำคัญรองมาจากเมืองหลวง   ผู้ที่ถูกส่งไปปกครองคือเจ้านายเชื้อพระวงษ์
3. เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก ห่างจากเมืองราชธานีออกไปมากกว่าเมืองลูกหลวง  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถไปปกครองดูแลเมืองเหล่านี้โดยขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีวิธีการปกครองเช่นเดียวกับหัวเมืองชั้นใน เมืองพระยามหานครในสมัยสุโขทัย    เช่น เ มืองพระบาง  (นครสวรรค์ ) เมืองเชียงทอง ( อยู่ในเขตจังหวัดตาก )เมืองบางพาน ( อยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร )    เป็นต้น
4. เมืองประเทศราช       ได้แก่เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นชาวต่างชาติต่างภาษาพระมหากษัตริย์ทรงดำเนินนโยบายในการปกครองคือให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันอง  โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน  ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุก 3 ปี     ยามสงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมาช่วย   สมัยพ่อขุนรามคำแหงมีเมืองประเทศราชหลายเมืองดังต่อไปนี้คือ
       ทิศเหนือ                                 ได้แก่         เมืองแพร่ เมืองน่าน
       ทิศตะวันตก                            ได้แก่         เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
       ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ         ได้แก่          เมืองเซ่า   ( หลวงพระบาง )         เมืองเวียงจันทน์
       ทิศใต้                                       ได้แก่          เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์


สมัยกรุงธนบุรี
          การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย พอสรุปได้ดังนี้ 
การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานี
ีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่
          1. กรมเมือง (นครบาล)         มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย
          2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์)       มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี
          3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี)  มีพระยาโกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ   
          4. กรมนา (เกษตราธิการ)      มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา
การปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมือง

การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช

          หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์ หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก(ปทุมธานี) 
          หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ 

          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์
          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท   ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์
          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี   ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์
          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรี

หัวเมืองประเทศราช

          เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด 
          หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์จำปาศักดิ์) กัมพูชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช